เป็นการอักเสบของระบบประสาทส่วนกลางที่มีหน้าที่นำสื่อประสาท ส่งผลกระทบต่อสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทตา
เนื่องจากถูกภูมิคุ้มกันทำลายเพื่อป้องกันใยประสาทจนเกิดแผลที่เนื้อเยื่อนั้นขึ้น มักพบผู้ป่วยในเพศหญิงวัยทำงานตั้งแต่ 18-45 ปี
แต่ผู้ชายหรือสตรีอายุเท่าไหร่ ก็สามารถป่วยเป็นโรคนี้ได้ อีกทั้งในความรุนแรงขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล หนักถึงขั้นใช้ชีวิตประจำวันอย่างลำบากหรือทุพพลภาพได้
ปัจจุบันทางการแพทย์หรือวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถทำการวิจัยให้ข้อมูลออกมาว่าอะไรคือสาเหตุของโรค แต่มีข้อสันนิษฐานจากปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้
- พันธุกรรม ไม่ใช่โรคที่ถ่ายทอดกันรุ่นสู่รุ่น แต่ถ้าบุคคลภายในครอบครัวเป็นก็มีความเสี่ยง
- ติดเชื้อไวรัส EVB จะส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันเกิดความเปลี่ยนแปลงที่บริเวณต่อมน้ำเหลืองโตขึ้น
- ขาดวิตามินดี
- การสูบบุหรี่
- โรคบางชนิด ลำไส้อักเสบ, เบาหวาน, ไทรอยด
- การมองเห็น มีอาการเจ็บตา, มองไม่ชัด, เห็นภาพซ้อน มักจะเกิดขึ้นข้างใดข้างหนึ่ง
- สมอง คิด ตัดสินใจ จำข้อมูลได้ช้า
- อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า
- การทรงตัว แขน ขาอ่อนแรงหรือกระตุก มือสั่น ล้มง่าย
- การพูด ออกเสียงไม่ชัด เคี้ยวอาหารลำบาก
- ระบบขับถ่าย ปัสสาวะบ่อย กลั้นไม่ค่อยอยู่ ท้องผูก
- นอกจากนี้ยังรู้สึกชาบริเวณใบหน้า เมื่อขยับคอจะเหมือนโดนไฟดูด
- ใช้ยาชะลออาการ เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่หายขาด และยามีผลข้างเคียง ดังนั้นต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่าง
เคร่งครัด ซึ่งจะมีตัวยา ได้แก่สเตียรอยด์, ยาคลายกล้ามเนื้อ, ยาแก้ปวด
- กายภาพบำบัด เพื่อลดอาการเกร็งของแขน ขา และเดินเซ โดยการยืดเส้น เล่นโยคะ จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทรงตัว
รวมทั้งอาจมีการฉีดยาคลายกล้ามเนื้อร่วมด้วย
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- รับประทานอาหารที่ประโยชน์
- ผ่อนคลายความเครียดอย่างถูกสุขลักษณะ
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่
- สังเกตร่างกาย หากมีความผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์
- เส้นประสาทตาอักเสบ ทำให้มีอาการตามัวลงอย่างเฉียบพลันในเวลาเป็นวันถึงหลายสัปดาห์ ความรุนแรงเป็นได้ ตั้งแต่อาการตามัวเพียงเล็กน้อยจนถึงตาบอดมืดสนิท
อาการตามัวมักเป็นตาข้างเดียวและภาพที่มองไม่ชัดมักเริ่มจากบริเวณตรงกลางของลานสายตา อาการอื่นที่พบร่วมได้แก่ กลอกตาแล้วเจ็บภายในเบ้าตา
- ไขสันหลังอักเสบ ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติได้หลายลักษณะ ได้แก่ อาการชาบริเวณแขน ขา ลำตัว กล้ามเนื้อแขนหรือขาอ่อนแรง โดยอาการชาหรืออ่อนแรงอาจเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง
มีการควบคุมขับถ่ายอุจจาระปัสสาวะผิดปกติ อาจเป็นเบ่งปัสสาวะอุจจาระไม่ออกหรือกลั้นไม่อยู่ อาการไขสันหลังอักเสบของผู้ป่วยโรคเอ็นเอ็มโอมักรุนแรงกว่าโรคเอ็มเอส และฟื้นตัวน้อยกว่า
- ปลอกประสาทในสมองอักเสบ ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติได้หลายลักษณะ ได้แก่ อาการเห็นภาพซ้อน เดินเซ แขนขา อ่อนแรงครึ่งซีก ชาครึ่งซีก ซึมลง สะอึกไม่หยุด คลื่นไส้อาเจียนต่อเนื่องที่ไม่ทราบสาเหตุ
โรคการหลับผิดปกติ ความรู้สึกตัวลดลง เป็นต้น
การรักษาประกอบด้วย การรักษาจำเพาะและการรักษาอาการต่าง ๆ ของโรค การรักษาจำเพาะ แบ่งเป็นสองระยะ ได้แก่
- ระยะกำเริบเฉียบพลัน การรักษาหลักในปัจจุบัน คือ การฉีดยาสเตียรอยด์ทางเส้นเลือด 3-7 วัน ขึ้นกับอาการของผู้ป่วยและยากินสเตียรอยด์หลังจากยาฉีด
ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับยาสเตียรอยด์แล้วอาการดีขึ้นน้อย แพทย์อาจพิจารณาการเปลี่ยนถ่ายพลาสมา (plasma exchange) 5-7 ครั้ง ขึ้นกับอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก
- ระยะโรคสงบ เนื่องจากธรรมชาติของตัวโรคมักมีการกำเริบเป็นระยะ จึงจำเป็นต้องมียาเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ซึ่งมีหลายชนิด ในประเทศไทย (พ.ศ.2565) มียากินและยาฉีดทางหลอดเลือด