แพทย์จะใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเข้าไปสลายต้อกระจกผ่านท่อขนาดเล็กที่สอดเข้าไปในดวงตาโดยเปิดปากแผลประมาณ
2-3 มิลลิเมตร คลื่นเสียงความถี่สูงจะทำให้เลนส์ที่ขุ่นมัวแตกออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ และดูดเศษเลนส์ที่กลายเป็นชิ้นเล็ก ๆ ออกมาทางท่อ
ขนาดเล็กที่สอดเข้าไป จากนั้นแพทย์จะแทนที่เลนส์ธรรมชาติด้วยเลนส์แก้วตาเทียมถาวร (intraocular lens หรือเรียกย่อว่า IOL)
การผ่าตัดทำโดยการหยอดยาชาเฉพาะที่เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บ หรืออาจฉีดยา
เฉพาะที่เพื่อทำให้เกิดอาการชาและป้องกันไม่ให้ดวงตามีการเคลื่อนไหว การ
ผ่าตัดส่วนใหญ่ใช้เวลาระหว่าง 10-20 นาที
ภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งและมักไม่รุนแรง อย่างไรก็ตามเช่นเดียวกันกับการผ่าตัดอื่นๆ อาจมีโอกาสเกิดความเสี่ยงได้ดังต่อไปนี้
- อาการบวมของกระจกตา
- อาการอักเสบของตา (ตาแดงและหนังตาบวม)
- ใส่เลนส์แก้วตาเทียมไม่ได้
- เลนส์ตกไปด้านหลังลูกตา
- การติดเชื้อ สามารถใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาและในบางกรณีอาจต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล
- จอประสาทตาหลุดลอก
- สูญเสียการมองเห็น
ทั้งนี้ ผู้ป่วยสามารถลดความเสี่ยงจากการผ่าตัดได้โดยการปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด